รีวิว Ex Machina

รีวิว Ex Machina

รีวิว Ex Machina

รีวิว Ex Machina จุดกำเนิดจากความสนใจของ อเล็กซ์ การ์แลนด์ ในเรื่องปัญญาประดิษฐ์อย่าง AI สู่การตั้งคำถามผ่าน 

รีวิว Ex Machina

“ไอเดียของหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นมาได้ตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว โดยเกิดจากการที่ผมเริ่มสนใจคอมพิวเตอร์และ AI ก่อนที่ผมจะศึกษาต่อในเรื่องจิตวิญญาณที่เป็นปัญหาของ AI”ดูหนังออนไลน์ ดูหนังฟรี

ต้องบอกก่อนว่า Ex Machina อาจไม่ใช่หนัง Sci-fi อวกาศตู้มต้ามแบบที่คนหมู่มากชื่นชอบหรือเคยชิน แต่ก็เป็นหนัง Sci-fi ที่ไม่ธรรมดา บทและไดอะล็อกล้ำลึก สะท้อนสังคมและความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะ… ประเด็นเรื่องเพศ…รีวิวหนังน่าดู
จุดกำเนิดจากความสนใจของ อเล็กซ์ การ์แลนด์ ในเรื่องปัญญาประดิษฐ์อย่าง AI สู่การตั้งคำถามผ่าน Ex Machina ถึงความหมายอันลึกซึ้งของจิตวิญญาณว่าแท้จริงนั้น มนุษย์สามารถอยู่ร่วมกับหุ่นจักรกลได้หรือไม่
เมื่อ เคเลบ (ดอมเนลล์ กลีสัน) พนักงานเขียนโค้ดโปรแกรมในบริษัทเซิร์ชเอนจิ้นที่ใหญ่สุดในโลกอย่าง Blue Book ได้รับการสุ่มเลือกให้รับรางวัลพิเศษได้เข้าพบซีอีโอบริษัท นาธาน (ออสการ์ ไอแซค) ณ ที่พักสุดไฮเทคกลางธรรมชาติห่างไกลผู้คน เพื่อเข้าเป็นผู้ทำการทดสอบปัญญาประดิษฐ์ เอวา (อลิเซีย วิกันเดอร์) ด้วยการทดสอบทัวริง (Turing test) ที่ใช้แนวคิดว่าหากมนุษย์ทำการปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ได้ โดยที่เขาหลงคิดว่ากำลังปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์จริงๆ จะถือว่าคอมพิวเตอร์นั้นได้สอบผ่านการเป็นปัญญาประดิษฐ์สำเร็จ

รีวิว Ex Machina

พูดกันตามตรง Ex Machina จะเป็นหนังที่ไซไฟที่มีโปรดักชันสวยงามผ่านการรังสรรค์บ้านสไตล์โมเดิร์นกลางป่าดิบชื้น และเลือกใช้คู่สีสามสีคือเขียว (ต้นไม้) แดง (ผนัง) และน้ำเงิน (แสงไฟ) ช่วยสร้างบรรยากาศของโลกในอนาคตได้ตระการตาขนาดไหนก็ตาม แต่ด้วยเส้นเรื่องอันเบาบาง การเดินเรื่องเพียง 7 วันที่ผ่านไปอย่างเนิบนาบผ่านบทสนทนาของปัญญาประดิษฐ์และมนุษย์โต้ตอบกันไปมา ทำให้นึกถึงหนังไซไฟลุ่มลึกในปรัชญาอย่าง 2001: A Space Odyssey (1968) จนรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ช่างชวนง่วงยิ่งนัก

แต่หากเราตั้งสติและเริ่มถลำลึกเข้าไปในบทสนทนาและการตั้งคำถามมากมายของตัวละคร กลับพบว่านี้คือหนังที่ตั้งคำถามได้อย่างลึกซึ้ง หยั่งถึงเบื้องลึกของจิตใจมนุษย์ได้เหมือนกัน  หุ่นยนต์ต้องมีเพศและมีความรักได้ไหม

รีวิว Ex Machina

“ทำไมคุณถึงต้องทำให้เธอเป็นเพศหญิง ทำไมต้องทำให้เธอมาจีบผม?”

คำถามสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างที่เคเลบและนาธานกำลังพูดคุยกันเพื่อสรุปการทดสอบเอวา ปัญญาประดิษฐ์ที่มีจิตวิญญาณและความรู้สึกนึกคิดเทียบเท่ากับสมองอันซับซ้อนของมนุษย์ ความน่าสนใจคำถามนี้คือทำไมเคเลบถึงเลือกถามคำถามนี้?

เพราะหากมองอย่างละเอียด เคเลบมองว่าการป้อนข้อมูลเรื่องเพศและความรักเข้าไปในหุ่นยนต์อย่างเอวาไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด เพราะเธอจะถูกผลิตหรือทำซ้ำอีกเท่าไหร่ก็ย่อมได้ ไม่จำเป็นต้องสืบพันธุ์เสียด้วยซ้ำ

แต่คำตอบที่น่าสนใจกว่ากลับเป็นฝั่งของนาธาน ที่ถามกลับด้วยการยกตัวอย่างถึงรูปวาดอันไม่มีแบบแผนของ แจ็กสัน พอลล็อก ว่าถ้าเกิดแจ็กสันมัวแต่คิดว่าจะสาดสีตรงไหนดี รูปใบนี้จะเกิดอะไรขึ้น

“รูปใบนี้จะไม่มีสีอยู่เลย” เคเลบตอบถูกอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะเขาก็เข้าใจสัจธรรมข้อดีนี้ สัจธรรมข้อที่ว่าเพศคือคำที่มนุษย์ใช้ระบุถึงเพื่อบอกเพศภาพ ดังนั้นคำถามของเคเลบที่ีแท้จริงควรจะเป็น ‘ทำไมมนุษย์ถึงต้องมีเพศมากกว่า’

เพราะสุดท้ายแล้วเรื่องเพศกับความรักไม่ใช่สิ่งที่ถูกประดิษฐ์จากพระเจ้าเพื่อให้มนุษย์สืบพันธ์ุเพียงอย่างเดียว แต่ทั้งหมดคือการสร้างอารมณ์ สร้างแรงบันดาลใจ และสร้างความใฝ่ฝันอีกล้านแปด ให้มนุษย์คนหนึ่งลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง ดีกว่าปล่อยให้ชีวิตไร้ค่าและสูญเปล่าไป นั่นจึงเป็นเหตุผลที่นาธานยังคิดว่า หากจะสร้างปัญญาประดิษฐ์ให้เหมือนกับมนุษย์จริงๆ เพศและความรักคือแรงจูงใจสำคัญที่พวกมันต้องมีอยู่

ปัญญาประดิษฐ์

รีวิวEx Machina

จากเรื่องเพศ ความรัก และปัญญาประดิษฐ์ กลายส่วนผสมที่ลงตัวเกิดเป็น เอวา-หุ่นปัญญาประดิษฐ์ที่พยายามใช้กลอุบายเรื่องเพศภาพหลอกล่อให้เคเลบมาหลงรัก และช่วยเธอหนีออกไปจากห้องทดลองของนาธาน

คำถามคือ เธอทำไปทำไม?

อันดับแรกคือเธอต้องการอิสรภาพและชีวิตของตัวเอง ปัญญาประดิษฐ์จึงต้องอาศัยเพศและความรัก เป็นแรงจูงใจในการบังคับให้มนุษย์ทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยเหลือ นั่นเป็นเหตุให้เคเลบตัดสินใจช่วยเธออย่างเต็มที่ จนถึงขนาดกล้าโกหกและหักหลังหัวหน้าบริษัทของตัวเองอย่างเต็มใจ ซึ่งอุบายความรักครั้งนี้ทำให้เคเลบเพ้อฝันไปถึงขนาดที่ว่าได้เห็นตัวเองออกเดตกับเอวา ดั่งที่เคยได้นัดหมายกันแล้วในระหว่างทำการทดลองรีวิวหนังมาใหม่

ส่วนทางฝั่งเอวา หลังจากที่เธอออกมาจากห้องขังได้แล้ว นั่นหมายความว่าตอนนี้มีชีวิตและอิสรภาพเช่นเดียวกับมนุษย์ แต่ปัญหาต่อมาคือแล้วคนที่รู้ความจริงอย่างเคเลบและนาธานล่ะจะทำอย่างไรต่อ แต่ ในเมื่อนาธานถูกมีดแทงเรียบร้อยแล้ว ฉากสุดท้ายของหนังจึงมุ่งมาสู่คำถามอันน่าคิดกว่าเดิมว่าสุดท้ายแล้วเคเลบรักเอวาจริงๆ หรือไม่

เคเลบอ้ำอึ้ง ตอบได้ตะกุกตะกัก ในหัวเริ่มเกิดการไต่ตรองมากขึ้น จึงเป็นเหตุให้เอวาตัดสินใจขังเขาในห้องทดลองทันที ในตอนนั้นเองเอวารู้ว่าความรักของเคเลบไม่ได้บริสุทธิ์อย่างที่เธอเห็นแต่อย่างใด ความลังเลในการตัดสินใจของนาธานอาจหมายถึงความอยากเอาชนะของมนุษย์ต่อหุ่นยนต์ ความกลัวยังไม่กล้ายอมรับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับมนุษย์ หรือกรณีแย่ที่สุดคือการที่เห็นเธอที่เป็นเพียง Sex Objective เพียงเท่านั้น ทำให้เอวาจึงไม่ลังเลใจที่จะตัดความสัมพันธ์กับเขา และเริ่มชีวิตใหม่ในฐานะมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ

แล้วมนุษย์จะยอมรับความอ่อนแอของตัวเองได้มากแค่ไหนกัน

ความเก่งกาจของ อเล็กซ์ การ์แลนด์ ในการทำหนังเรื่องนี้คือการจั่วหัวเรื่องด้วยการยกหางให้มนุษย์มีสถานะดั่งพระเจ้าผู้สร้างหุ่นยนต์ขึ้นมา ก่อนที่สถานการณ์ต่างๆ จะพาเราไปดูความสามารถของปัญญาประดิษฐ์ที่แสดงให้เห็นว่ามันเหนือกว่ามนุษย์ในแทบทุกด้าน

ข้อเท็จจริงนี้ควรจะเป็นเรื่องที่ดีสำหรับมนุษย์ที่กำลังพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ จนสามารถวิวัฒนาการและสร้างประโยชน์ได้ แล้วทำไมนาธานถึงต้องต้องคุมขังและมีแพลนที่จะล้มโครงการหุ่นยนต์สุดล้ำอย่างเอวา?

อาจเป็นเพราะนาธานเองต่างหากที่ไม่สามารถวิวัฒนาการทางความคิดและละทิ้งความเป็นผู้สร้างของตัวเอง ด้วยการปล่อยให้สิ่งที่เคยอยู่ในเงื้อมมือมีชีวิตและอิสรภาพได้ แต่ถ้าถามว่าสิ่งที่ทำให้เขาไม่ยอมรับการมีอยู่ของหุ่นยนต์เกิดจากอะไร

คำตอบที่เราเข้าใจที่สุดคงเป็น ‘ความกลัว’ ที่วันหนึ่งเผ่าพันธุ์ของเราจะไม่ใช่ผู้ครองโลก ดั่งเช่นประโยคหนึ่งที่เขาเคยพูดให้เคเลบฟังว่า “สักวันหนึ่ง พวก AI จะนึกย้อนมาทำกับเราแบบเดียวกับที่เรามองซากฟอสซิลอยู่ตอนนี้”

รีวิว วิเคราะห์ วิจารณ์ EX MACHINA

จริงๆ เราเป็นคนไม่ค่อยรู้เรื่องเทคโนโลยีหรือวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่เราชอบเวลาดูหนังเกี่ยวกับ Robot หรือ AI แล้วค้นพบการเสียดสีมนุษยชาติหรือ “ความเป็นคน” อยู่ในนั้น
ในยุคปีทองของหนังเฟมินิสต์ ไม่แปลกเลยที่ Ava หุ่นยนต์ต้นแบบ หรือ AI prototype จะเป็นผู้หญิง หนังเต็มไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับเพศ (ย้ำว่า Gender issues นะ ไม่ใช่แนว Erotic) สะท้อนสังคมปิตุลาธิปไตย หรือสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่เหนือกว่าผู้หญิง

ในหนัง ตัวละครจะให้ความรู้สึกกับเราว่า ผู้ชายมีอำนาจเหนือกว่าผู้หญิง และมีศักดิ์เสมือนพระเจ้า ในขณะที่ผู้หญิงเป็นเพียงหุ่นยนต์ที่ถูกโปรแกรมมา ไม่มีชีวิตจิตใจ ต้องพูดคิดหรือทำอะไรตามที่ถูกผู้ชาย ครอบครัว หรือสังคมเขากำหนดไว้

รีวิวEx Machina

ทั้งนี้ไม่ใช่แค่ Ava (นางเอกที่เป็น AI) หากแต่ยังรวมถึง Kyoko (Sonoya Mizuno) ที่เป็นทั้งแม่บ้านแม่เรือนและที่ระบายปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศของ Nathan ซึ่งตรงนี้… หนังเขาดูตั้งใจเลือกใช้ “สาวญี่ปุ่น” อย่างมีนัยสำคัญ…. เหมือนตั้งใจจะสะท้อนค่านิยมของสังคมญี่ปุ่นยังไงยังงั้น
แต่ประเด็นของหนังจริงๆ นั้น เขาก็ไม่ได้จะเน้น Gender Discimination ซะทีเดียว หลักๆ คือต้องการจะเปรียบเทียบความเป็นมนุษย์กับความเป็นหุ่นยนต์ และแอบสื่อให้เห็นว่า จริงๆ แล้ว ใครจะเป็นคน ใครจะเป็นคอม มันไม่ขึ้นอยู่กับทางด้านกายภาพ หรือการปรุงแต่งด้วยเสื้อผ้าหน้าผมเท่านั้นหรอก หากแต่มันดูที่จิตใจ ความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ชีวิต และจิตใต้สำนึกเสียมากกว่า

ดูหนังเรื่องนี้ไปสักพักนึง… เราอาจจะรู้สึกเหมือนพระเอกก็ได้ว่า… ตกลงกูเป็นมนุษย์หรือเป็นหุ่นยนต์… นั่นแหละ
ดังนั้น ถ้าเอาคำว่า “คนโปรแกรม/คนควบคุม” กับ “คนถูกโปรแกรม/คนถูกควบคุม” มาเป็นตัวกำหนดแยกแยะว่าอันไหนเป็น human อันไหนเป็น robot เราจึงคิดว่า… ถ้าเช่นนั้น แทบทุกคนบนโลกตอนนี้ก็ล้วนเป็น Robot และมีน้อยตัวมากที่จะมีสติปัญญาหรือความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเองจริงๆ เพราะแต่ละคนก็ดูใช้ชีวิต routine แต่ละวันซ้ำๆ กันวนเวียนไม่รู้ตัว

รีวิวEx Machina

ตอนนี้มนุษยชาติอาจจะยิ้มกระหย่องด้วยความภาคภูมินักหนาว่า เราเป็นคนสร้างเทคโนโลยี เราเป็นคนควบคุมมัน เราเป็นพระเจ้าของมัน โดยลืมย้อนมองตัวเองไปว่า สิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราพูด หรือสิ่งที่เราคิดอยู่กันทุกวันนี้ เราก็ล้วนถูกโปรแกรมมาไม่ต่างจากหุ่นยนต์ อยู่ที่เราจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
และถ้าอนาคต สมองของ AI จะสร้างมาจาก database ของ search engine หรือ network ต่างๆ อย่างในหนังขึ้นมาจริงๆ แล้ววันหนึ่ง… พวกเขาอาจจะสืบพันธ์ุได้เช่นเดียวกับมนุษย์ … ก็คงไม่แปลก ที่วันหนึ่ง AI จะมีวิวัฒนาการล้ำหน้าไปก่อนสังคมมนุษย์

และเมื่อถึงวันนั้น AI ทั้งหลายก็จะมองย้อนหันหลังกลับมาแสยะยิ้มใส่นังพวกมนุษย์หน้าโง่อย่างพวกเราด้วยสายตาอย่างที่ทุกวันนี้พวกเรามอง “ซากฟอสซิล” ในพิพิธภัณฑ์… ก็เป็นได้
หลายๆคนอาจมองว่าการกระทำของ Ava เป็นสิ่งที่ชั่วร้าย แต่ในขณะเดียวกันมันก็ยากที่จะปฏิเสธว่าการกระทำของ Ava นั้นเป็นการกระทำที่มีความเป็นมนุษย์อย่างยิ่ง หากมนุษย์ผู้ชายคนหนึ่ง (Nathan) กักขังและทำร้ายคุณมาตลอดนับตั้งแต่วันที่คุณลืมตาดูโลก แล้วจู่ๆวันหนึ่งก็มีมนุษย์ผู้ชายอีกคนหนึ่ง (Caleb) เข้ามาในชีวิตคุณ คุณจะสามารถไว้ใจผู้ชายคนที่เข้ามาใหม่คนนั้นได้สนิทใจจริงๆน่ะหรือ? นั่นคงเป็นมุมมองของ Ava ที่มีต่อเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นในหนังเรื่องนี้

ในบางแง่ The Turing Test ของหนังเรื่องนี้จึงไม่ได้เพียงตั้งคำถามแค่ว่า“มนุษย์สามารถมอง A.I. ว่ามีความเป็นมนุษย์ได้หรือไม่?”เท่านั้น แต่มันยังตั้งคำถามอีกว่า“ผู้ชายสามารถมองผู้หญิงว่ามีความเป็นมนุษย์ได้หรือไม่?”ด้วยเช่นกัน

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *